สระบุรี -คนสระบุรี และจากทั่วสารทิศ ร่วมสืบสานประเพณี กว่า 100 ปี แห่พระเขียวแก้ว พระพุทธบาทสระบุรีวันนี้ ( 26 ก.พ.) นายพลวรรธน์ ชิตะดิดติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ร่วมสืบสานประเพณี แห่พระเขี้ยวแก้วและสรงน้ำ ที่บริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ. สระบุรี โดยจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ประเพณี แห่พระเขี้ยวแก้วและสรงน้ำ ของชาวอำเภอพระพุทธบาทมีตำนาน ตามพงศาวดาร กล่าวไว้ว่า พระเขี้ยวแก้ว คือ ฟันของพระพุทธเจ้าที่เหลือไว้ให้เป็นปูชนียวัตถุ มี 4 องค์ ด้วยกัน คือ 1.ประดิษฐานอยู่ที่ จุฬามณีดาวดึงส์เทวโลก 2.ประดิษฐานอยู่ ณ.เมืองกาลึงคราษฏร์ ประเทศอินเดีย 3.ประดิษฐานอยู่ที่ใต้บาดาลอันมีนามว่า นาคพิภพ 4. ประดิษฐานอยู่ประเทศลังกา หรือลังกาทวีป ปัจจุบันได้อัญเชิญมาจากประเทศลังกา มาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จ.สระบุรี ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ครองกรุงศรีอยุธยา กระทั่งปี พ.ศ.2457 ที่เมืองพระพุทธบาท เกิดโรคระบาดประชาชนเกิดเจ็บป่วย ล้มตาย พร้อมทั้งเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้ง แห้งน้ำ ผู้ปกครองในสมัยนั้นจึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วออกแห่ แล้วประชาชนร่วมขบวนพร้อมถวายน้ำสรงพระเขี้ยวแก้ว ในวันนั้นเอง ได้มีฝนตกกระหน่ำอย่างหนัก ทำให้ประชาชนและพฤกษาชาตินานาพันธุ์ได้รับความชุ่มเย็นจึงได้ถือ ปฎิบัติเป็นประเพณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านที่มาร่วมประเพณี แห่พระเขี้ยวแก้วและสรงน้ำ เล่าว่า ตนเองมาร่วมงานประเพณีนี้ทุกปี เพราะว่าพระเขี้ยวแก้ว นี้เป็นคู่บ้าน คู่เมืองของชาวพระพุทธบาท จะต้องมีทุกปี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าหากไม่มีการแห่และสรงน้ำ ก็กลัวว่าจะเกิดอาเพศส่วนนักท่องเที่ยวที่มากราบสักการะรอยพระพุทธบาท บอกว่า ได้ยินเสียงรถประชาสัมพันธ์ขบวนแห่ กำลังพาแม่ขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาท ก็เลยมาทางนี้ก่อน ซึ่งตนเองคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญ ที่ผ่านมาตนเคยเห็นมาครั้งนึง ที่วัดบวร