วันนี้ (16 เม.ย. 64) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงการป้องกันควบคุมโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อ 1 การห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
– ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียน และสถาบันการศึกษา ทุกประเภท เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
ยกเว้นใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ อุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16 ) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564
– ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยให้ดำเนินการ ตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงการป้องกันควบคุมโควิด-19ภาพจาก : ศูนย์ข้อมูลโควิด -19
ข้อ 2 การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร
ให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด “แล้วแต่กรณี” ดำเนินการตามกฎหมาย สั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้า สถานประกอบกิจการ อาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดสถานที่ดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน
ข้อ 3 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้
(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุดรธานี รวม 18 จังหวัด เป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุด
(2) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัดอื่นนอกจากที่กำหนดใน (1) รวม 59 จังหวัด เป็น พื้นที่ควบคุม
ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการแยกตามพื้นที่สถานการณ์ กำหนดมาตรการควบคุม ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไขเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรค ที่ทางราชการกาหนด เป็นระยะเวลา อย่างน้อย 14 วัน
(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. แต่ให้นำไปบริโภคที่อื่น
ข. การจำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะ คล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวน ผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก ที่งดการให้บริการ
ง. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ แต่ไม่เกินเวลา 21.00 น. “สำหรับร้านหรือสถานที่ ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 ชม. ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.
จ. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกิน เวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยจำกัดจำนวนผู้ชม ในสนาม
(2) พื้นที่ควบคุม
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มและการบริโภคในร้านได้ ไม่เกินเวลา 21.00 น.
ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุราห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะ คล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก ที่งดการให้บริการ
ข้อ 5 การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือ ชะลอการเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคที่อาจทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสติดโรค
การตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเท่าที่จำเป็น และ เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตามมาตรการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 (ศปก. ศบค.) กำหนด และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควร
ให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแล การให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบ และระเบียบต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ ที่ ศปก.ศบค. กำหนด
ข้อ 6 การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ ขอความร่วมมือให้ประชาชนเลื่อนหรือ งดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน
ข้อ 7 การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากร ในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการ อื่นใดที่เหมาะสม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ
ข้อ 8 มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ ให้ “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และ สาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด–19” ร่วมกับ “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 กระทรวงมหาดไทย” และ “ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง” เร่งดำเนินการจัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และ แยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโดยด่วน โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่ของเอกชน หรือสถานที่อื่นใดที่มีความเหมาะสม รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เวชภัณฑ์ อุปกรณ์เพื่อการตรวจและ รักษาโรค และอุปกรณ์อื่น ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานทางสาธารณสุข
ให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและแยกกัก ในสถานที่และตามระยะเวลา ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขกาหนด จนกว่าจะได้ตรวจทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรค หรือ สิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค เพื่อจำกัดการระบาด และเพื่อความปลอดภัยของประชาชนส่วนรวม
ข้อ 9 การประเมินสถานการณ์ ให้ ศปก. ศบค. พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการรวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่ สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่าง ๆ และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต
เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจพิจารณาดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือ ห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะ หรือสั่งให้งดการทากิจกรรมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรค ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป